เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจหน่วยในการวัดเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตรด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome












6
12 – 16ก.ย.59
โจทย์
วิธีการหาปริมาตร

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปริมาตรไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากวิธีการหาปริมาตร
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากับของสมการ 2 สมการ
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตร
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตร
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- โพมทรงสี่เหลี่ยม
- อุปกรณ์ประกอบการทดลองหาปริมาตร
วันจันทร์ – วันอังคาร
กระบวนการ : วิธีการหาปริมาตร
ชง: ครูนำภาพรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
แต่ละรูปต่อไปนี้"
เชื่อม: นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับการหาปริมาตร
วันพุธ
ชง: ครูนำภาพลูกบาศก์มาให้นักเรียนสังเกต ขวามือ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาปริมาตรของลูกบาศก์นี้"
*มีลูกบาศก์ขนาด 1 ลบ.ซม. อยู่ในลูกบาศก์นี้เท่าไร
*มีปริมาตรกี่ ลบ.ซม.
เชื่อม: นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิด
- ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับการหาปริมาตร
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากและลูกบาศก์ข้างล่าง"
"หาปริมาตรของสิ่งของรอบๆตัวเราที่มีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์หรือปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เชื่อม: นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด สำรวจปริมาตรรอบๆตัวและบันทึกผล พร้อมนำเสนอ

ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนร่วมทดลองการตัดโพมเพื่อคำนวณหาปริมาตร
 - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนเข้าใจหน่วยในการวัดเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตรด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตร
ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตร
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



ภาพบรรยากาศการเรียนรุ้ / ชิ้นงาน

ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.6 จะกิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอย่าง เดินป่า ค้นคว้าอิสระ และงานที่ต้องรับผิดชอบอื่นๆ ในหลายวิชา

_ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการหาปริมาตร(ทบทวน) ส่วนมากเป็นเนื้อหาที่พี่ๆ เรียนรู้มาก่อนหน้านี้แล้วในชั้น ป.5 ซึ่งส่วนใหญ่พี่ๆ จะได้เรียนรู้จากโจทย์ปัญหาสถานการณ์ที่ครูกำหนดมา พาฝึกการวิเคราะห์ด้วยการตั้งคำถามให้เกิดขึ้นกับตนเองทุกครั้ง เมื่อพบโจทย์ปัญหานั้น


และยังมีโจทย์ที่พาพี่ๆ วิเคราะห์ผ่านกิจกรรมเกมที่หลากหลายรูปแบบ อาทิ เกมหยิบไม้ขีดไฟ โจทย์การคิดสร้างสรรค์ และปริศนาตัวเลข ..ทุกคนได้รับโจทย์กลับไปทำต่อที่บ้านบางวันและนำมาร่วมพูดคุยในชั่วโมงถัดมาทุกครั้ง

จากครุ่นคิดโจทย์คณิตฯ 3 คน พี่ๆป.6 เริ่มรวมกลุ่มๆกลายเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นๆ ให้ความสนใจ..

"เลื่อนไม้ขีดไฟเพียง 4 อัน เพื่อทำให้ได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 7 รูป"

1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.6 จะกิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอย่าง เดินป่า ค้นคว้าอิสระ และงานที่ต้องรับผิดชอบอื่นๆ ในหลายวิชา

    _ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการหาปริมาตร(ทบทวน) ส่วนมากเป็นเนื้อหาที่พี่ๆ เรียนรู้มาก่อนหน้านี้แล้วในชั้น ป.5 ซึ่งส่วนใหญ่พี่ๆ จะได้เรียนรู้จากโจทย์ปัญหาสถานการณ์ที่ครูกำหนดมา พาฝึกการวิเคราะห์ด้วยการตั้งคำถามให้เกิดขึ้นกับตนเองทุกครั้ง เมื่อพบโจทย์ปัญหานั้น

    และยังมีโจทย์ที่พาพี่ๆ วิเคราะห์ผ่านกิจกรรมเกมที่หลากหลายรูปแบบ อาทิ เกมหยิบไม้ขีดไฟ โจทย์การคิดสร้างสรรค์ และปริศนาตัวเลข ..ทุกคนได้รับโจทย์กลับไปทำต่อที่บ้านบางวันและนำมาร่วมพูดคุยในชั่วโมงถัดมาทุกครั้ง

    จากครุ่นคิดโจทย์คณิตฯ 3 คน พี่ๆป.6 เริ่มรวมกลุ่มๆกลายเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นๆ ให้ความสนใจ..
    "เลื่อนไม้ขีดไฟเพียง 4 อัน เพื่อทำให้ได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 7 รูป"

    ตอบลบ