เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับปริมาตร และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome












5
5 – 9 ก.ย.59
โจทย์
ปริมาตร

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับปริมาตรไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากการหาปริมาตร
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับการหาปริมาตร
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการหาปริมาตร
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับการหาปริมาตร
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- โพมทรงสี่เหลี่ยม
- อุปกรณ์ประกอบการทดลองหาปริมาตร
วันจันทร์
กระบวนการ : ปริมาตร
ชง: ครูนำโพมทรงสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต 2 ชิ้น (ดังภาพ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ให้นักเรียนเปรียบเทียบขนาดของโพม 2ชิ้น” / นักเรียนแสดงความคิดเห็น
เชื่อม: ให้นักเรียนนักเรียนตัดแบ่งโพมออกเป็นส่วนส่วนละ 1 เซนติเมตร แล้วให้นักเรียนให้นักเรียนนับ จำนวนชิ้นลูกบาศก์ขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- ครูนำภาพลูกบาศก์มาให้นักเรียนสังเกต ด้านล่าง

วันอังคาร – วันพุธ
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะใช้จำนวนบล็อกลูกบาศก์ขนาด 1 ลบ.ชม. กี่ก้อน จึงจะสามารถสร้างลูกบาศก์และปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากข้างล่างได้
เชื่อม: นักเรียนแสดงความคิดเห็น
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จงสร้างรูปทรงที่แตกต่างกันโดยใช้บล็อกลูกบาศก์ที่มีสันยาวด้านละ 1 ชม. 12อัน และรูปทรงทั้งหมดมีปริมาตรเท่ากัน
เชื่อม:  นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิดสร้างรูปทรง พร้อมนำเสนอ
- หน่วยของปริมาตร คือลูกบาศก์ที่มีสันยาวด้านละ 1 ชม. การหาปริมาตรคือนับจำนวนของลูกบาศก์
วันศุกร์
ชง: ครูนำภาพลูกบาศก์มาให้นักเรียนสังเกต ด้านล่าง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
   และลูกบาศก์ข้างล่างต่อไปนี้
เชื่อม:  นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิดการหาปริมาตร พร้อมนำเสนอ  /พร้อมรับใบงานฝึกทำเกี่ยวกับกาหาปริมาตร
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนร่วมทดลองการตัดโพมเพื่อคำนวณหาปริมาตร
 - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับปริมาตร และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับการหาปริมาตร
ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการหาปริมาตร
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 ........................

 ภาพบรรยากาศ / ชิ้นงาน

ก่อนเริ่มการเรียนการสอน พี่ๆป.6 ได้ถ่ายทอดความเข้าใจของการวัดค่าต่อหน่วยที่เรียนมาก่อนนหน้านี้ ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
   


      ในกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาตร ผมเริ่มต้นจากทบทวนความเข้าใจการหาพื้นที่และเชื่อมโยงเข้าสู่การหาปริมาตร โดยให้นักเรียนเปรียบเทียบขนาดของโพม 2 ชิ้น
_เพื่อตัดออกเป็นชิ้นโยงเข้าสู่ลูกบาศก์ต่างๆ ให้เห็นภาพเชิงลึกของปริมาตร
โจทย์หลายข้อที่นำมาให้พี่ๆ ป.6 ได้ทบทวนการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทบสอบแห่งชาติ(O-net’59) ในส่วนที่ส่งเสริมความสามารถด้านคณิตฯ คือ พี่อ๋อมแอ๋มและพี่คิม ทั้งคู่จะปลีกตัวหาเวลาช่วงเย็นมาเรียนรู้ในเนื้อที่สนใจในรายวิชาคณิตฯ หรืออ่านเนื้อหา ม.ต้น ล่วงหน้า

...ส่วนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในแต่ละวัน ได้แก่ พี่หยี่, พี่การ์ฟิวล์, และพี่เบค ในส่วนนี้เป็นเรื่องทำงานช้า ทั้งเรื่องพัฒนาการด้านการคิดอีกด้วยที่ต้องส่งเสริมประจำ ในช่วงเย็นหลังเลิกเรียนจะช่วยเรื่องเตรียมใบงานให้นักเรียนประจำ..

1 ความคิดเห็น:

  1. ก่อนเริ่มการเรียนการสอน พี่ๆป.6 ได้ถ่ายทอดความเข้าใจของการวัดค่าต่อหน่วยที่เรียนมาก่อนนหน้านี้ ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย

    ในกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาตร ผมเริ่มต้นจากทบทวนความเข้าใจการหาพื้นที่และเชื่อมโยงเข้าสู่การหาปริมาตร โดยให้นักเรียนเปรียบเทียบขนาดของโพม 2 ชิ้น
    _เพื่อตัดออกเป็นชิ้นโยงเข้าสู่ลูกบาศก์ต่างๆ ให้เห็นภาพเชิงลึกของปริมาตร
    โจทย์หลายข้อที่นำมาให้พี่ๆ ป.6 ได้ทบทวนการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทบสอบแห่งชาติ(O-net’59) ในส่วนที่ส่งเสริมความสามารถด้านคณิตฯ คือ พี่อ๋อมแอ๋มและพี่คิม ทั้งคู่จะปลีกตัวหาเวลาช่วงเย็นมาเรียนรู้ในเนื้อที่สนใจในรายวิชาคณิตฯ หรืออ่านเนื้อหา ม.ต้น ล่วงหน้า

    ...ส่วนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในแต่ละวัน ได้แก่ พี่หยี่, พี่การ์ฟิวล์, และพี่เบค ในส่วนนี้เป็นเรื่องทำงานช้า ทั้งเรื่องพัฒนาการด้านการคิดอีกด้วยที่ต้องส่งเสริมประจำ ในช่วงเย็นหลังเลิกเรียนจะช่วยเรื่องเตรียมใบงานให้นักเรียนประจำ..

    ตอบลบ