เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนนักเรียนเข้าใจการวัดหน่วยในกับค่าเฉลี่ย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome












2

15 -19ส.ค.59
โจทย์
การวัดต่อหน่วย

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับการวัดต่อหน่วยไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากการวัดต่อหน่วย
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับวัดต่อหน่วย
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับวัดต่อหน่วย
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับวัดต่อหน่วย
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพมีน้ำส้มจำนวนหนึ่ง
- ภาพจำลองสถานการณ์ไก่ไข่
วันจันทร์
ชง: ครูสมมติสถานการณ์เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ
“ทุกๆเช้าพี่ๆ ป.6 จะอ่านหนังสือ พี่ก้อยพี่อายอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน พี่ก้อยใช้เวลาอ่านหนังสือ 5 วัน และพี่อายใช้เวลาอ่านหนังสือ 4 วัน เพราะมีอยู่ 1 วันที่เขาไม่ได้มาเรียน ใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน ถ้าเปรียบเทียบจำนวนหน้าของหนังสือที่พวกเขาอ่านได้ในแต่ละวัน

วันอังคาร – วันพุธ
กระบวนการ : ค่าเฉลี่ย
ชง:  ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ถ้าในแต่ละวันพี่ก้อยกับพี่อายอ่านหนังสือได้จำนวนหน้าเท่ากัน อยากทราบว่าพี่ก้อยกับพี่อายจะอ่านหนังสือได้กี่หน้าต่อวัน
เชื่อม: นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
- ครูนำภาพมีน้ำส้มจำนวนหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะ ด้านล่าง

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาค่าเฉลี่ยเพื่อที่จะทำให้ภาชนะแต่ละอัน ที่บรรจุนั้นมีน้ำส้มปริมาณเท่ากัน
-ครูสมมติสถานการณ์ ไก่ 2ตัว ข้างล่างนี้ ตัวใดที่ไข่มีน้ำหนักมากกว่า หาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ของไก่แต่ละตัวแล้วเปรียบเทียบกัน
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
- นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับการหาค่าเฉลี่ย และนำเสนอผลงานที่ถ่ายทอดความเข้าใจต่อครูและเพื่อนๆ
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนร่วมทดลองเทียบปริมาณน้ำส้มจากเยือกทดลอง
 - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนนักเรียนเข้าใจการวัดหน่วยในกับค่าเฉลี่ย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับวัดต่อหน่วยในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับวัดต่อหน่วย
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น




 ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ / ชิ้นงาน

ขึ้นเรื่องใหม่กับพี่ๆ ป. 6 คือหน่วย “การวัดต่อหน่วย”
เพื่อให้พี่ๆ ได้เทียบการวัดในแบบต่างๆ และเสริมสร้างการเรียนรู้ ตรวจเช็คค่าเฉลี่ยในแบบต่างๆ โดยคุณครูจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ
“ทุกๆเช้าพี่ๆ ป.
6 จะอ่านหนังสือ พี่ก้อยพี่อายอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน พี่ก้อยใช้เวลาอ่านหนังสือ 5 วัน และพี่อายใช้เวลาอ่านหนังสือ 4 วัน เพราะมีอยู่ 1 วันที่เขาไม่ได้มาเรียน ใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน ถ้าเปรียบเทียบจำนวนหน้าของหนังสือที่พวกเขาอ่านได้ในแต่ละวัน 


และนำด้วยคำถามกระตุ้นคิด ถ้าในแต่ละวันพี่ก้อยกับพี่อายอ่านหนังสือได้จำนวนหน้าเท่ากัน อยากทราบว่าพี่ก้อยกับพี่อายจะอ่านหนังสือได้กี่หน้าต่อวัน
    ให้ทุกคนได้หาค่าเฉลี่ยและนำข้อมูลที่ได้จากตารางที่ครูสมมติขึ้นมาให้พี่ๆ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือของพี่ก้อยและพี่อ้าย
สร้างแบบจำลองผ่านกราฟแผนภูมิแท่ง และให้ย้ายข้อมูลเพื่อเทียบค่าจากการหาค่าเฉลี่ย


1 ความคิดเห็น:

  1. ขึ้นเรื่องใหม่กับพี่ๆ ป. 6 คือหน่วย “การวัดต่อหน่วย”
    เพื่อให้พี่ๆ ได้เทียบการวัดในแบบต่างๆ และเสริมสร้างการเรียนรู้ ตรวจเช็คค่าเฉลี่ยในแบบต่างๆ โดยคุณครูจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ
    “ทุกๆเช้าพี่ๆ ป.6 จะอ่านหนังสือ พี่ก้อยพี่อายอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน พี่ก้อยใช้เวลาอ่านหนังสือ 5 วัน และพี่อายใช้เวลาอ่านหนังสือ 4 วัน เพราะมีอยู่ 1 วันที่เขาไม่ได้มาเรียน ใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน ถ้าเปรียบเทียบจำนวนหน้าของหนังสือที่พวกเขาอ่านได้ในแต่ละวัน”
    และนำด้วยคำถามกระตุ้นคิด “ถ้าในแต่ละวันพี่ก้อยกับพี่อายอ่านหนังสือได้จำนวนหน้าเท่ากัน อยากทราบว่าพี่ก้อยกับพี่อายจะอ่านหนังสือได้กี่หน้าต่อวัน”
    ให้ทุกคนได้หาค่าเฉลี่ยและนำข้อมูลที่ได้จากตารางที่ครูสมมติขึ้นมาให้พี่ๆ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือของพี่ก้อยและพี่อ้าย
    สร้างแบบจำลองผ่านกราฟแผนภูมิแท่ง และให้ย้ายข้อมูลเพื่อเทียบค่าจากการหาค่าเฉลี่ย

    ตอบลบ