เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย

Mind mapping (สาระการเรียนรู้)
- - ครู -

หน่วย : Happy Number 2
ภูมิหลัง : การเรียนรู้ของพี่ๆ ป.6 มีความรู้ความเข้าใจเร็วมากๆหลายคน และอีกหลายคนครูต้องเข้าช่วยส่งเสริมมาโดยตลอด เรื่องที่น่าสนใจนำมาสอนพี่ๆ ป.6 เรียนQuarterนี้ คือเรื่อง ปริมาตร, การวัดต่อหน่วย, และสัดส่วน โดยครูมีเป้าหมายคือให้นักเรียนทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใคร่ครวญกับสิ่งที่แต่ละคนอยากเรียนรู้เพิ่มเติม มีความเข้าใจหน่วยในการวัดเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย เข้าใจการหาปริมาตรด้วยวิธีการที่หลากหลาย และนักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมบัติสัดส่วนมาใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ และนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้ 
     โดยการเรียนรู้ยังคงเน้นทบทวนเนื้แหาที่เรียนมาเช่นเคยและหา

เป้าหมายความเข้าใจ : เพื่อให้นักเรียนทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใคร่ครวญกับสิ่งที่แต่ละคนอยากเรียนรู้เพิ่มเติม มีความเข้าใจหน่วยในการวัดเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย เข้าใจการหาปริมาตรด้วยวิธีการที่หลากหลาย และนักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมบัติสัดส่วนมาใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ และนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ปฏิทินการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ Happy Number 2
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Quarter 2 / 2559
Week
Input
Process
Output
Outcome












1
โจทย์
ทบทบกิจกรรม
-ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
คำถาม
นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องใดบ้างในรายวิชาคณิตฯ และเรื่องใดบ้างที่พี่ๆสนใจอยากเรียนรู้
- เรื่องใดบ้างพี่ๆ อยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมในการเรียนรู้ในQuarterนี้

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ไม้ขีด
ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด “ให้นักเรียนหาคำตอบจากโจทย์108IQ , เกม 24  นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร?”

- นักเรียนร่วมเลนเกม พร้อมนำเสนอวิธีคิด
*เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องใดบ้างในรายวิชาคณิตฯ และเรื่องใดบ้างที่พี่ๆสนใจอยากเรียนรู้ ”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด  “เรื่องใดบ้างพี่ๆ อยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมในการเรียนรู้ในQuarterนี้”
*นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ ในQ.2/59
ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกม108IQ , เกม 24  
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใคร่ครวญกับสิ่งที่แต่ละคนอยากเรียนรู้เพิ่มเติม
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นคุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6
........................................
Week
Input
Process
Output
Outcome












2
โจทย์
การวัดต่อหน่วย
คำถาม
นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องใดบ้างในรายวิชาคณิตฯ และเรื่องใดบ้างที่พี่ๆสนใจอยากเรียนรู้
- เรื่องใดบ้างพี่ๆ อยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมในการเรียนรู้ในQuarterนี้

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- น้ำส้ม
- อุปกกรณ์ใช้ทดลอง
ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด

 “ให้นักเรียนหาคำตอบจากภาพปริศนา นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร?”

 กระบวนการ :
- ครูสมมติสถานการณ์เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ
“ทุกๆเช้าพี่ๆ ป.6 จะอ่านหนังสือ พี่ก้อยพี่อายอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน พี่ก้อยใช้เวลาอ่านหนังสือ 5 วัน และพี่อายใช้เวลาอ่านหนังสือ 4 วัน เพราะมีอยู่ 1 วันที่เขาไม่ได้มาเรียน ใครอ่านหนังสือได้มากกว่ากัน ถ้าเปรียบเทียบจำนวนหน้าของหนังสือที่พวกเขาอ่านได้ในแต่ละวัน”

กระบวนการ : ค่าเฉลี่ย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ถ้าในแต่ละวันพี่ก้อยกับพี่อายอ่านหนังสือได้จำนวนหน้าเท่ากัน อยากทราบว่าพี่ก้อยกับพี่อายจะอ่านหนังสือได้กี่หน้าต่อวัน”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ

- ครูนำภาพมีน้ำส้มจำนวนหนึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะ ด้านล่าง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ให้นักเรียนหาค่าเฉลี่ยเพื่อที่จะทำให้ภาชนะแต่ละอัน ที่บรรจุนั้นมีน้ำส้มปริมาณเท่ากัน”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ

-ครูสมมติสถานการณ์ “ไก่ 2ตัว ข้างล่างนี้ ตัวใดที่ไข่มีน้ำหนักมากกว่า หาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ของไก่แต่ละตัวแล้วเปรียบเทียบกัน”

- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกมภาพปริศนา  
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดต่อหน่วย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจการวัดหน่วยในกับค่าเฉลี่ย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นคุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 2.1   เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด        : ตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2 , ป.6/3
มาตรฐาน 5.2   เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6
.....................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












3-4
โจทย์
การวัดต่อหน่วย

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับการวัดต่อหน่วยไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Thank pair share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ทดลองยืนบนเสื่อ
- ตารางการบันทึกผล
กระบวนการ การวัดต่อหน่วย
 - นักเรียนจำนวนหนึ่งยืนอยู่บนเสื่อ a, b, c ที่มีนักเรียนหนาแน่นที่สุด

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ถ้าเสื่อแต่ละผืนมีพื้นที่ ตารางเมตร จะมีนักเรียนกี่คนต่อ ตารางเมตร
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
    โจทย์ชวนคิด
1. เด็ก 10 คน กำลังเล่นในกระบะทรายที่มีพื้นที่ 8 ตร.ม และเด็ก 13คน
ก็กำลังเล่นในกระบะทรายที่มีพื้นที่ 10 ตร.ม. กระบะทรายใดมีนักเรียนแออัดกว่า
2. มีผู้โดยสารในรถไฟขบวนแรก 1260 คน ซึ่งมีตู้รถโดยสาร ตู้
และมีผู้โดยสารในรถไฟขบวนที่สอง 1850 คน ซึ่งมีตู้โดยสาร 10 ตู้
รถไฟขบวนใดมีผู้โดยสารแออัดมากกว่า

- ในการเปรียบเทียบความหนาแน่นของสิ่งต่างๆ  ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด กลุ่มไหนมีความหนาแน่นมากกว่า มีวิธีคิดอย่างไร
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
- ครูนำตารางทางขวามือแสดงจำนวนประชากร และพื้นที่ของเมืองตะวันออกและเมืองตะวันตก คำนวณหาจำนวนประชากรต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จากตารางนักเรียนคิดว่าเมืองใดมีคนแออัดมากกว่ากัน  มีวิธีคิดอย่างไร
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิดในแบบต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด มีลวดอยู่สองชนิด ชนิดแรกความยาวและน้ำหนักเป็น เมตร และ 390กรัม ชนิดที่สอง 8เมตร และ 480กรัม

ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
นักเรียนร่วมทดลองทดลองยืนบนเสื่อ เพื่อหาปริมาณความหนาแน่น - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนเข้าใจการวัดต่อหน่วย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 2.1   เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด        : ตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2 , ป.6/3
มาตรฐาน 3.2   เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2
มาตรฐาน 5.2   เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6

..................................
Week
Input
Process
Output
Outcome












5
โจทย์
ปริมาตร

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับปริมาตรไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Thank pair share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- โพมทรงสี่เหลี่ยม
- อุปกรณ์ประกอบการทดลองหาปริมาตร
กระบวนการ : ปริมาตร
- ครูนำโพมทรงสี่เหลี่ยมมาให้นักเรียนสังเกต 2 ชิ้น (ดังภาพ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ให้นักเรียนเปรียบเทียบขนาดของโพม 2ชิ้น” / นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- ให้นักเรียนนักเรียนตัดแบ่งโพมออกเป็นส่วนส่วนละ 1 เซนติเมตร แล้วให้นักเรียนให้นักเรียนนับ จำนวนชิ้นลูกบาศก์ขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- ครูนำภาพลูกบาศก์มาให้นักเรียนสังเกต ด้านล่าง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะใช้จำนวนบล็อกลูกบาศก์ขนาด 1 ลบ.ชม. กี่ก้อน จึงจะสามารถสร้างลูกบาศก์และปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากข้างล่างได้
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จงสร้างรูปทรงที่แตกต่างกันโดยใช้บล็อกลูกบาศก์ที่มีสันยาวด้านละ 1 ชม. 12อัน และรูปทรงทั้งหมดมีปริมาตรเท่ากัน
- นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิดสร้างรูปทรง พร้อมนำเสนอ
- หน่วยของปริมาตร คือลูกบาศก์ที่มีสันยาวด้านละ 1 ชม. การหาปริมาตรคือนับจำนวนของลูกบาศก์
- ครูนำภาพลูกบาศก์มาให้นักเรียนสังเกต ด้านล่าง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก  และลูกบาศก์ข้างล่างต่อไปนี้
- นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิดการหาปริมาตร พร้อมนำเสนอ

ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนร่วมทดลองการตัดโพมเพื่อคำนวณหาปริมาตร
 - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับปริมาตร และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 2.2   เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดตัวชี้วัด  ป.6/2
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6
..................................

Week
Input
Process
Output
Outcome












6
โจทย์
วิธีการหาปริมาตร

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปริมาตรไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Thank pair share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- โพมทรงสี่เหลี่ยม
- อุปกรณ์ประกอบการทดลองหาปริมาตร
กระบวนการ : วิธีการหาปริมาตร
 - ครูนำภาพรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (ดังภาพ) มาให้นักเรียนสังเกต
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่ละรูปต่อไปนี้"
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับการหาปริมาตร
- ครูนำภาพลูกบาศก์มาให้นักเรียนสังเกต ขวามือ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ให้นักเรียนหาปริมาตรของลูกบาศก์นี้"
*มีลูกบาศก์ขนาด 1 ลบ.ซม. อยู่ในลูกบาศก์นี้เท่าไร
*มีปริมาตรกี่ ลบ.ซม.
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น พร้อมนำเสนอวิธีคิด
- ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับการหาปริมาตร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากและลูกบาศก์ข้างล่าง"
"หาปริมาตรของสิ่งของรอบๆตัวเราที่มีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์หรือปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
 - นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด สำรวจปริมาตรรอบๆตัวและบันทึกผล พร้อมนำเสนอ

ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนร่วมทดลองการตัดโพมเพื่อคำนวณหาปริมาตร
 - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนเข้าใจหน่วยในการวัดเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตรด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 2.2   เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดตัวชี้วัด  ป.6/2
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6
........................................
Week
Input
Process
Output
Outcome












7-8
โจทย์
สัดส่วน
-การใช้สมบัติของสัดส่วน

คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับสัดส่วนไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Thank pair share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดตาราง
- แผ่นจากเครื่องถ่ายเอกสาร
- เครื่องชั่ง
- อุปกรณ์การวัดความยาว
- ครูจำลองสถานการณ์ ให้นักเรียน 2 คัดเลือกกระดาษที่ใช้แล้ว จากเครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อนำมาใช้ใหม่ “ลองคิดหาวิธีการหาจำนวนของแผ่นกระดาษ
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงถ้าจำนวนของกระดาษเพิ่มขึ้น
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น กลุ่ม เพื่อกิจกรรมการทดลอง
กลุ่มที่1: นักเรียนทดลอง(โดยการชั่ง)
- ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความสัมพันธ์ ระหว่างจำนวนของแผ่นกระดาษที่ชั่งและน้ำหนักที่ได้เพื่อหาจำนวนแผ่นในกองกระดาษ
จากนั้น..
1. ชั่งน้ำหนักของกระดาษ 10 แผ่น หลังจากนั้นชั่ง  20 , 30 และชั่งไปเรื่อยๆพร้อมบันทึกผลลงในตาราง
กลุ่มที่1: นักเรียนทดลอง(โดยการวัดความสูงของกองกระดาษ)
- ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความสัมพันธ์ ระหว่างจำนวนของแผ่นกระดาษและความหนาเพื่อหาจำนวนแผ่นในกองกระดาษ
จากนั้น..
1. หาจำนวนกระดาษที่หนา 1 ซม. หลังจากนั้น 2 ซม. 3 ซม.และหาค่าต่อไปเรื่อยๆ บันทึกจำนวนแผ่นของกระดาษลงในตาราง

- นักเรียนนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการทอง

กระบวนการ : สัดส่วน
- ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนและน้ำหนักของแผ่นกระดาษ

1. เมื่อจำนวนของกระดาษเพิ่มขึ้น 2 เท่า 3  เท่า  4 เท่า และต่อไปเรื่อยๆน้ำหนักของกระดาษเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2. กองกระดาษ 90 แผ่นจะหนักกี่กรัม
3. จะมีกระดาษในกองกี่แผ่นเมื่อน้ำหนักของกระดาษเป็น 700 กรัม

2. ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนและความหนาของแผ่นกระดาษ
ตาราง
1. เมื่อความหนาของแผ่นกรดาษเพิ่มขึ้น 2 เท่า 3  เท่า  4 เท่า และต่อไปเรื่อยๆจำนวนของแผ่นกระดาษเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2.กองกระดาษหนา 9 เซนติเมตร จะมีกระดาษกี่แผ่น

3ครูนำตารางเปรียบเทียบ ปริมาณ มาให้นักเรียนพิจารณาปริมาณ 2  ปริมาณ ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน
 1. ให้นักเรียนเติมจำนวนจำนวนที่ลงในตารางให้สมบูรณ์
2.ตารางใดที่มีความสัมพันธ์เหมือนกับ ข้อ 1 และ ข้อ 2

4.   ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักของลวดเมื่อความยาวของลวดเพิ่มขึ้น  2 เท่า 3  เท่า  4 เท่า และต่อไปเรื่อยๆน้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร”
*ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง
 1. เมื่อน้ำหนักเป็นสัดส่วนต่อความยาวแล้ว น้ำหนักจะเปลี่ยนไปอย่างไร ถ้าความยาวเปลี่ยนไป  1.5 เท่า และ 2.5 เท่า
  2. เมื่อน้ำหนักเป็นสัดส่วนต่อความยาว น้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ในขณะที่ความยาวเปลี่ยนไป  ½ และ 1/3 เท่า

สมบัติของสัดส่วน

5.  ตารางด้านล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของน้ำและความสูงของน้ำที่เทลงถัง

คำถาม..
1. นักเรียนคิดว่าความสูงและปริมาตรของน้ำในถังเป็นสัดส่วนได้หรือไม่
2.ให้นักเรียนพิจารณาความสูงของน้ำที่เพิ่มขึ้น เมื่อปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 1 ลิตร(l) ความสูงจะเพิ่มขึ้นกี่เซนติเมตร

กระบวนการ : การใช้สมบัติของสัดส่วน
- ครูนำตารางต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของเครื่องดื่มและน้ำตาล มาให้นักเรียนสังเกต

คำถาม..
1.น้ำหนักของน้ำตาลเป็นสัดส่วนกับปริมาตรของเครื่องดื่มหรือไม่
2.จะมีน้ำตาลกี่กรัม ในเครื่องดื่ม 250 มิลลิลิตร
หรือ

-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานการใช้สมบัติของสัดส่วน
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
นักเรียนร่วมทดลองการชั่งน้ำหนักและวันความสูงของแผนกระดาษ
 - นักเรียนนำเสนอข้อมูลช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
บันทึกผลจากการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ใบงาน / โจทย์การคิด

ความรู้
   นักเรียนเข้าใจและสามารถนำสมบัติของสัดส่วนมาใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ และนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 2.2 เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด   ตัวชี้วัด ป.6/3
มาตรฐาน 3.2 เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.6/3
มาตรฐาน 5.2 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล   ตัวชี้วัด ป.6/1
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6

..................................
Week
Input
Process
Output
Outcome












9
โจทย์
สรุปองค์ความรู้คณิต (หลังเรียน) ระดับชั้น ป.6 Quarter 2/59

คำถาม
- นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าตนเองได้เรียนรู้และมีความเข้าใจอะไรในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับ Quarter 2

เครื่องมือคิด
- Show and Share
- Wall thinking

- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศการเรียนรู้คณิต
- ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิด จากโจทย์ปริศนาคำทายจากตัวเลข
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่สาระการเรียนรู้

- ครูใช้คำถามกระตุ้นด้วยคำถาม
นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้อย่างไร
นักเรียนคิดว่าตนเองได้เรียนรู้และมีความเข้าใจอะไรในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับ Quarter 2
- นักเรียนและครูร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันจัดนิทรรศการการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชื่อมโยงของวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน และร่วมจัดนิทรรศการถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ สรุปองค์ความรู้คณิต (หลังเรียน)
ระดับชั้น ป.
6 Quarter 2/59

ภาระงาน
- นักเรียนได้เล่นเกมปริศนาคำทายจากตัวเลข
 - นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
ความรู้
   นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วยต่างๆที่เรียนมา และสรุปองค์ความรู้ นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน 1.3 เข้าใจระบบจำนวนและใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน   ตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2
มาตรฐาน 2.2
เข้าใจการวัด และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด   ตัวชี้วัด ป.6/3
มาตรฐาน 3.2 เข้าใจเรขาคณิต และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.6/3
มาตรฐาน 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์  (mathematical  model)  อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา ตัวชี้วัด ป.6/1 , ป.6/2
มาตรฐาน 5.2 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล   ตัวชี้วัด ป.6/1
มาตรฐาน
  6.1 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4, ป.6/5, และ ป.6/6
..................................
..................................